สมการนาเวียร์-สโตกส์เป็นหนึ่งในเจ็ดปัญหารางวัลมิลเลนเนียม มันได้รับความนิยมเนื่องจากมันประยุกต์ใช้ได้ในด้านวิศวกรรมและฟิสิกส์
เวลานี้นักวิชาการอัจฉริยะได้เขียนวิทยานิพนธ์หัวข้อนี้ สมการนาเวียร์-สโตกส์จึงได้รับความสนใจมากยิ่งกว่าเดิม
นักศึกษาปริญญาเอกคณิตศาสตร์และฟิสิกส์หลายคนในมหาลัยใหญ่ๆและสถาบันวิจัยต่างก็กำลังพูดถึงปัญหานี้
พวกเขาสงสัยว่าลู่โจวจะพิชิตสมการนาเวียร์-สโตกส์ได้ไหม
ถ้าเขาทำได้ ขั้นตอนการวิจัยของเขาอยู่ไหน?
มีแค่วิทยานิพนธ์ในวารสารคณิตศาสตร์ประจำปีเหรอ?
คนส่วนใหญ่เชื่อว่าอัจฉริยะคนนี้มีผลการวิจัยที่ดีกว่าที่ลงในวารสาร
ตอนเที่ยง สถาบันการศึกษาขั้นสูงพรินซ์ตัน
“ผมขอแซนวิชเบคอน”
“แซนวิชอันหนึ่ง…คุณไม่อยากลองอย่างอื่นบ้างเหรอ? คุณกินแต่อาหารเดิมๆ มันไม่ดีนะ”
เชฟจำลู่โจวได้ เพราะเขาสั่งแต่อาหารเดิมๆ ทุกครั้ง
“ไม่เป็นไรครับ”
ลู่โจวรับแซนด์วิชกับกาแฟมาจากเชฟ จากนั้นเขาก็ไปหาที่นั่ง
ปกติแล้วเขาจะทำอาหารกินเองหรือไปกินที่ไอวี่คลับ แต่ช่วงนี้เขามักจะกินแซนด์วิชง่ายๆ ก่อนจะมุ่งหน้าไปห้องแล็บพลาสมา
การออกแบบการทดลองฟังดูง่าย แต่ทำจริงมันซับซ้อนมาก!
นอกจากปัญหาที่เด่นชัด มันยังมีปัญหาที่หาไม่เจอและปัญหาที่ไม่เด่นชัดอีกมากมายที่ต้องแก้ เรื่องนี้ต้องใช้ทั้งความรู้เชิงทฤษฎีและความรู้ทางวิศวกรรม ซึ่งหมายความว่าลู่โจวต้องคุยกับวิศวกรในห้องแล็บอยู่ตลอด นอกจากนี้เขายังต้องแลกเปลี่ยนแนวคิดและหาแนวทางแก้ไขที่ใช้งานได้กับวิศวกร
ลู่โจวรู้สึกว่าความเร็วในการทำความเข้าใจกับวัสดุวิศวกรรมเร็วอย่างคาดไม่ถึงเลย
ส่วนมันเร็วแค่ไหนนั้น…
มันเร็วเท่ากับตอนที่เขาศึกษาคณิตศาสตร์เมื่อสองปีก่อน
ลู่โจวค่อยๆทานแซนด์วิชพลางศึกษาปัญหาไปด้วย
ทันใดนั้นเอง มีสาวผมบลอนด์นั่งอยู่ตรงข้ามเขา เธอหยิบไมโครโฟนออกมาก่อนจะกล่าว “สวัสดีค่ะคุณลู่โจว ขอโทษที่รบกวนค่ะ ดิฉันเป็นนักข่าวจาก BBC”
ลู่โจวหยุดทานแซนด์วิช เขาเงยหน้ามองสาวผมบลอนด์ก่อนจะเอ่ยถาม “คุณต้องการอะไร?”
เขาจำไม่เห็นได้เลยว่าช่วงนี้เขาทำอะไรที่ดึงดูดความสนใจลงไป
เห็นได้ชัดว่าเธอไม่ได้มาเพื่อพูดถึงรางวัลฮอฟแมนซึ่งเป็นเรื่องที่นานแล้ว
นักข่าวสาวยิ้ม “คือ วิทยานิพนธ์ของคุณในคณิตศาสตร์ประจำปีเมื่อเร็วๆนี้ได้รับความสนใจจากชุมชนวิชาการอย่างกว้างขวาง ดิฉันอยากถามว่าคุณพยายามหาข้อเฉลยที่ราบรื่นของสมการนาเวียร์-สโตกส์ เพื่อท้าทายหนึ่งในปัญหารางวัลมิลเลนเนียมใช่ไหม?”
ปัญหาคณิตศาสตร์ธรรมดาๆคงไม่คู่ควรจะถูกสัมภาษณ์จาก BBC แต่ปัญหารางวัลมิลเลนเนียมนั้นต่างกัน มันมีเงินรางวัลล้านเหรียญซึ่งคู่ควรกับนำไปขึ้นพาดหัวข่าว
“ไม่ๆ คุณคิดผิดแล้ว ไม่มีอะไรแบบนั้นหรอก” ลู่โจวส่ายหน้า “ฉันแค่วิจัยสมการนาเวียร์-สโตกส์เพื่อสนับสนุนการทดลองของตัวเอง แม้ว่าฉันจะพบผลลัพธ์ที่น่าสนใจ แต่มันไม่คู่ควรจะได้รับการยกย่องหรอก”
นักข่าวมองลู่โจวแล้วกล่าว “ไม่น่าเชื่อ…ฉันขอถามได้ไหมว่าคุณกำลังทดลองอะไร?”
“ไม่เป็นไร ฉันไม่อยากให้พวกคุณเอาการวิจัยของฉันไปเขียนเกินจริง” ลู่โจวกล่าวพลางขยำห่อแซนด์วิชก่อนจะโยนลงถังขยะ “ก่อนผลการวิจัยจะออกมา ฉันบอกคุณได้เรื่องหนึ่ง”
ลู่โจวกังวลว่าถ้าเขาบอก BBC ไปว่าเขากำลังออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาปรากฏการณ์ความปั่นป่วนของพลาสมาที่อุณหภูมิสูง BBC จะเขียนข่าวไปว่าเขากำลังจะแก้ปัญหานิวเคลียร์ฟิวชั่นแทน ถ้าเป็นแบบนั้น โทรศัพท์เขาคงระเบิดอีกรอบ
เพราะยังไงเสียนี่ก็เป็นนักข่าวจาก BBC
เนื่องจากพาดหัวข่าวที่เกินจริง และเทคนิคการเขียนข่าวแบบคลิกเบท พวกเขาจึงถูกส่วนอ้างอิงของวิกิพีเดียแบน
นักข่าวไม่ได้สนใจคำพูดของลู่โจว กลับกันเธอยื่นไมค์พร้อมกับเอ่ยถาม “เป็นเรื่องอะไรคะ?”
ลู่โจวกล่าว “ไม่มีความเห็น”
นักข่าว “…”
…
หลังสัมภาษณ์สั้นๆ ลู่โจวก็ไป PPPL
วิศวกรห้องแล็บเริ่มทำงานแล้ว
“เวนเดลสไตน์ 7-X ยอมรับคำขอของเราติดตั้งวัสดุเป้าหมายและปืนอะตอมในการทดลองครั้งหน้าแล้ว พวกเขาจะช่วยเรารวบรวมข้อมูลด้วยเช่นกัน”
ลู่โจวเอ่ยถามทันที “การทดลองครั้งต่อไปเริ่มเมื่อไหร่?”
ศาสตราจารย์เลเซอร์สันไม่มั่นใจนัก เขากล่าว “ในหนึ่งเดือน…เราต้องคิดผลการวิจัยที่มีค่าก่อนเดือนธันวา! ไม่งั้นพวกเขาอาจพิจารณาเลื่อนการทดลองออกไป โปรเจกต์ ITER ทุนใกล้หมดแล้ว ทุกห้องแล็บต่างก็กำลังแข่งกับเวลา”
ลู่โจวกล่าว “มีเวลาเหลือไม่มากแล้ว”
“ใช่ เวลาเหลือไม่มาก แน่นอนเราจะรอจนพวกเขาปรับปรุงเครื่องตอนเดือนมิถุนาก็ได้ แต่…” ศาสตราจารย์เลเซอร์สันกล่าว
“แต่?”
ศาสตราจารย์เลเซอร์สันพูดต่อ “แต่ PPPL จะไม่สนับสนุนการวิจัยของเราต่อโดยไม่มีข้อจำกัด ถ้าเราไม่ได้ผลลัพธ์ในครึ่งปี พวกเขาอาจตัดการทดลองทิ้งไป”
โปรเจกต์นี้อาศัย PPPL อย่างหนัก เงินทุนก็มาจาก PPPL อัจฉริยะและอุปกรณ์ล้วนมาจาก PPPL
มีโปรเจกต์ไฮเทคมากมายที่ถูกพัฒนาขึ้น และนิวเคลียร์ฟิวชั่นก็เป็นหนึ่งในนั้น ‘He3’อะตอมโพรบเป็นแค่โปรเจกต์ย่อยภายใต้โปรเจกต์นิวเคลียร์ฟิวชั่น
ถ้าโปรเจกต์นี้ใช้ทรัพยากรครึ่งปีโดยไม่ได้อะไรเลย ผู้อำนวยการห้องแล็บอาจยกเลิกโปรเจกต์ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เลื่อนโปรเจกต์ออกไป
เว้นแต่ว่าจะมีผู้ชนะรางวัลโนเบลหลายท่านสนับสนุนโปรเจกต์ หรือตัวโปรเจกต์คู่ควรแก่รางวัลโนเบล
อย่างไรก็ตามลู่โจวย่อมไม่ใช่ผู้ชนะรางวัลโนเบล และศาสตราจารย์เลเซอร์สันก็เช่นกัน…
ลู่โจวกล่าว “เรารอครึ่งปีไม่ได้เหรอ?”
ศาสตราจารย์เลเซอร์สันกล่าว “ปกติเราย่อมทำได้ แต่โปรเจกต์วิจัยช่วงนี้มีตารางแน่นมาก ดังนั้นโปรเจกต์ที่มีความสำคัญน้อยลงจะถูกเลื่อนออกไป…ไม่ว่าโปรเจกต์นั้นจะน่าสนใจแค่ไหนก็ตาม”
เขาหวังอย่างยิ่งว่าโปรเจกต์จะดำเนินต่อไปได้
ท้ายที่สุดแล้วโลกฟิสิกส์ก็ทำได้แต่’ตรวจจับ’พลาสมาเท่านั้น ไม่ใช่’สังเกต’
แนวคิดทั้งสองต่างกันโดยสิ้นเชิง และแบบจำลองที่สร้างจากแนวคิดทั้งสองก็ต่างกันโดยสิ้นเชิง
ถ้าลู่โจวใช้ความสามารถทางคณิตศาสตร์เพื่อทำการทดลองนี้ให้เสร็จได้จริง คณะกรรมการรางวัลโนเบลอาจพิจารณาให้เลเซอร์สันรับรางวัลด้วยซ้ำ
ในฐานะวิศวกร นี่เป็นโอกาสเดียวที่เขาจะชนะรางวัลโนเบล
เมื่อลู่โจวได้ยินคำอธิบายของเลเซอร์สัน เขาก็กล่าว “เราต้องทำงานให้เร็วขึ้น! เส้นตายคือสิ้นปี เราต้องทำให้เสร็จก่อนสิ้นปีให้ได้”
ศาสตราจารย์เลเซอร์สันถาม “มีเวลาพอไหม?”
ลู่โจวมองศาสตราจารย์เลเซอร์สันแล้วตอบ “มีเวลาพอแน่นอน!”
………………………………