ลู่โจวตัดสินใจบรรยายสมการนาเวียร์-สโตกส์ที่งานประชุมนักคณิตศาสตร์นานาชาติ ดังนั้นเขาจึงไม่อยากปล่อยให้เวลาสูญเปล่า
มันเป็นต้นเดือนเมษา และงานประชุมเริ่มต้นต้นเดือนสิงหา อย่างช้าที่สุด เขาต้องทำวิทยานิพนธ์สมการนาเวียร์-สโตกส์ให้เสร็จภายในต้นเดือนกรกฎาคม
ซึ่งหมายความว่าเขาเหลือเวลาสามเดือนเท่านั้น
ในสถานการณ์เช่นนี้ ทางเลือกเดียวของเขาคือเขาต้องโต้รุ่ง…
หน้าปฏิทินเปลี่ยนไปทีละหน้า การวิจัยดำเนินไปอย่างเข้มข้น ไม่นานมันก็ถึงเดือนกรกฎาคม
มันใกล้ถึงงานประชุมเรื่อยๆ แล้ว และสภาคณิตศาสตร์นานาชาติก็ได้ส่งเมลแจ้งเตือนให้ลู่โจวอัปเดตข้อมูลเนื้อหาการบรรยายบนเว็บไซต์หลายครั้งแล้ว
ปกติแล้วผู้บรรยายต้องเปิดเผยเนื้อหาของการบรรยายก่อนงานประชุมจะเริ่ม พวกเขาต้องอัปโหลดเนื้อหาการบรรยายทั้งหมดก่อนวันที่กำหนด
ในที่สุดลู่โจวก็นึกเรื่องนี้ได้ เขาเข้าบัญชีที่ลงทะเบียนโดยสภาคณิตศาสตร์นานาชาติแล้วอัปเดตข้อมูลบรรยาย
คนส่วนใหญ่จะอัปเดตข้อมูลบรรยายครึ่งปีก่อนแล้ว มันหาได้ยากที่จะเห็นคนที่อัปเดตข้อมูลหนึ่งเดือนก่อนงานประชุม
เนื่องจากมันเป็นการบรรยายหนึ่งชั่วโมง แถมผู้บรรยายยังเป็นนักวิชาการที่โด่งดัง ทุกคนจึงให้ความสนใจกับเนื้อหาการบรรยายของลู่โจว
ไม่กี่เดือนก่อน เว็บบอร์ดคณิตศาสตร์บนโลกออนไลน์หลายแห่งก็พูดถึงสิ่งที่ศาสตราจารย์ลู่กำลังทำ
มีหลายคนในสาขาทฤษฎีจำนวนที่เข้าเช็คเว็บไซต์ทางการทุกวันเพื่อหวังว่าจะได้เห็นหัวข้อการบรรยายของลู่โจว
เนื้อหาการบรรยายของลู่โจวเป็นไปตามความคาดหวังของทุกคน
เมื่อชุมชนเห็นหัวข้อบรรยายเกี่ยวกับสมการนาเวียร์-สโตกส์ ทั้งโลกคณิตศาสตร์ก็เดือดพล่าน…
[การมีอยู่ของสมการนาเวียร์-สโตกส์และความราบรื่น? เป็นไปได้ยังไง?]
[มีคนอ้างว่าแก้สมการนาเวียร์-สโตกส์ได้มากี่ครั้งแล้ว?]
[นับไม่ถ้วน…]
[ครั้งก่อนเป็นนักวิชาการจากคาซัคสถาน คราวนี้เป็นนักวิชาการจีน ประเทศโลกที่สามอยากได้เงินล้านเหรียญขนาดนั้นเชียว?]
[รอจนเห็นวิทยานิพนธ์ของเขาก่อน ตอนนี้ยังไม่มีใครรู้ ถ้าเกิดเขาแก้ปัญหารางวัลมิลเลนเนียมได้จริงล่ะ? เหมือนกับที่เขาแก้ข้อคาดการณ์ของก็อลท์บัคไง]
[เป็นไปไม่ได้! สมการนาเวียร์-สโตกส์กับข้อคาดการณ์ของก็อลท์บัคอยู่คนละระดับกันเลย! อันหนึ่งคือสมการเชิงอนุพันธ์ย่อย อีกอันเป็นทฤษฎีจำนวน! ไม่ว่าเขาจะฉลาดแค่ไหน เขาก็ไม่มีทางไปถึงจุดสูงสุดของสองสาขาที่ต่างกัน!]
บนโลกออนไลน์ถกเถียงกันอย่างดุเดือด
ไม่ใช่แค่โลกออนไลน์เท่านั้น แต่นักวิชาการคณิตศาสตร์ชื่อดังหลายท่านก็ให้ความสนใจกับการประกาศที่คาดไม่ถึงนี้เช่นกัน
เถาเจ๋อเซวียนเป็นหนึ่งในนั้น
เถาเจ๋อเซวียนได้แสดงความเห็นบนบล็อก
[…มันเป็นเรื่องยากที่ฉันจะแสดงความเห็นก่อนอ่านวิทยานิพนธ์ แต่จากความเข้าใจของฉันที่มีต่อเขา แม้ว่าเขาจะชอบเสี่ยง แต่เขาไม่เคยทำอะไรที่ไม่เคยมั่นใจ]
[นอกจากนี้เมื่อสองเดือนก่อน ฉันเห็นผลการวิจัยล่าสุดของเขาในวารสารคณิตศาสตร์ประจำปี พวกคุณคงรู้ว่าวิทยานิพนธ์นี้คือแมนิโฟลด์เชิงอนุพันธ์ที่แปลกใหม่มาก มันมีชื่อว่าแมนิโฟลด์ L]
[ฉันไม่เข้าใจการใช้งานจำเพาะของแมนิโฟลด์ L และนั่นก็จนกระทั่งฉันได้ค้นคว้าเกี่ยวกับการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างสมการเชิงอนุพันธ์ย่อยและทอพอโลยี]
[ไม่แปลกใจเลยว่า นี่เป็นเครื่องมือเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ที่น่าสนใจมาก นับแต่นั้นมาฉันก็รู้สึกว่ามันอาจนำมาใช้แก้สมการนาเวียร์-สโตกส์]
การสนทนาไม่ได้เกิดขึ้นแค่โลกออนไลน์เท่านั้น
สองสัปดาห์หลังลู่โจวโพสต์หัวข้อการบรรยาย เครื่องบินสีเงินก็บินจากอเมริกาเหนือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจนมาถึงยุโรป
ไลออนส์ลากกระเป๋าเดินทางออกจากสนามบินนานาชาตินิวยอร์ก เขาสวมกอดเฟฟเฟอร์แมนสหายเก่าอย่างอบอุ่น
“สหาย ไม่ได้เจอกันนาน”
“ไม่เจอกันนาน!” ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนตบบ่าเพื่อนเก่าแล้วถาม “ลมอะไรหอบคุณมาเนี่ย?”
คนที่กำลังยืนอยู่ตรงหน้าศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนคือศาสตราจารย์ไลออนส์จากเอกอล นอร์มาล ซูเพริเยอ เขาเป็นผู้ชนะเหรียญฟิลด์ปี 1994 ผู้ที่มีผลงานที่โดดเด่นในสาขาสมการเชิงอนุพันธ์ย่อยไม่เชิงเส้นและสมการโบลต์ซมันน
ไลออนส์มักจะให้ความสนใจกับผลการวิจัยล่าสุดของสมการนาเวียร์-สโตกส์เสมอ
หลังจากเห็นลู่โจวเลือกสมการนาเวียร์-สโตกส์เป็นหัวข้อบรรยาย เขาก็กระโดดขึ้นเครื่องจากปารีสมาพรินซ์ตันทันที แถมเขายังมาเยี่ยมเพื่อนเก่าที่เป็นคณบดีสาขาคณิตศาสตร์พรินซ์ตันด้วยเช่นกัน
“…ฉันสนใจขึ้นมา” ไลออนส์กล่าวและเอากระเป๋าเดินทางไว้ท้ายรถ ก่อนที่เขาจะคาดเข็มขัดนิรภัย เขาก็ถาม “พวกคุณแก้สมการนาเวียร์-สโตกส์ได้จริงเหรอ?”
ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนจับพวงมาลัยอยู่ เขาเงียบไปชั่วครู่
จากนั้นเขาก็ส่ายหน้า
“…ขอโทษ ฉันไม่รู้”
ไลออนส์อึ้ง
เขาพูดอย่างไม่เชื่อ
“คุณไม่รู้? พวกคุณไม่ได้ทำโปรเจกต์วิจัยนี้ด้วยกันเหรอ?”
“ถูกต้อง” ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนสตาร์ทรถ “ที่จริงเราทำโปรเจกต์สมการนาเวียร์-สโตกส์ด้วยกัน แต่สองเดือนก่อนเราตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ต่างกันและทำการวิจัยแบบอิสระ…”
จนถึงตอนนี้เขาก็ยังพยายามใช้วิธีพิสูจน์เชิงนามธรรมของตัวเอง
เขาไม่มั่นใจว่าลู่โจวไปถึงขั้นตอนไหนแล้ว
ไลออนส์ “…”
ทำวิจัยโดยใช้สองวิธีที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
มีเพียงอัจฉริยะเท่านั้นที่จะทำอะไรแบบนี้
ไลออนส์เงียบไปครู่หนึ่งก่อนจะกล่าว “คุณพาฉันไปหาศาสตราจารย์ลู่หน่อยได้ไหม? ฉันอยากคุยกับเขา”
เฟฟเฟอร์แมนส่ายหน้า “ฉันเกรงว่าฉันจะช่วยไม่ได้”
ไลออนส์ถาม “ทำไม?”
เฟฟเฟอร์แมนถอนหายใจ “เขาชอบขังตัวเองอยู่ในบ้านตอนหมกอยู่กับการวิจัย เมื่อไหร่ที่เขาเข้าสภาวะนี้ เว้นแต่เขาจะพอใจกับความคืบหน้าการวิจัยของตัวเองหรือมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น เขาจะไม่ออกจากบ้าน”
พูดตามตรง ต่อให้เกิดแผ่นดินไหว เฟฟเฟอร์แมนก็ไม่คิดว่าเขาจะออกจากบ้าน
ไลออนส์ประหลาดใจ “…ไม่น่าเชื่อ”
เฟฟเฟอร์แมนยิ้มและส่ายหน้า “ตอนแรกฉันก็ประหลาดใจเหมือนคุณนั่นแหละ เพราะตอนนี้ก็ศตวรรษที่ 21 แล้ว ฉันไม่อยากจะเชื่อเลยว่าจะมีคนใช้วิธีกักตัวแบบนี้นอกจากเพเรลมาน แถมแม้แต่เพเรลมาลก็ทำแค่ลดการเดินทางลง เขาไม่ขังตัวเองจากโลกภายนอกโดยสิ้นเชิง แต่ฉันชินแล้ว”
ไลออนส์ถาม “เขา…เป็นนักวิชาการประเภทเก็บตัวเหรอ?”
ศาสตราจารย์เฟฟเฟอร์แมนโบกมือ “ไม่ใช่ เขาค่อนข้างเข้ากับคนอื่นง่าย ทุกคนในพรินซ์ตันรู้เรื่องวิธีวิจัยที่ไม่เหมือนใครของเขา ฉันได้ยินจากนักศึกษาจีนว่านี่เป็นวิธีที่ธรรมดามากในจีน”
ไลออนส์ถามทันที “วิธีวิจัยอะไร?”
เฟฟเฟอร์แมนมีสีหน้าจริงจัง “พวกเขาเรียกมันว่า’การโต้รุ่ง’…”
…………………………………