เดือนตุลาคม
ถนนในสตอกโฮล์มเต็มไปด้วยผู้คนพลุกพล่าน
ในทุกปี เมืองที่อยู่ใกล้ทะเลบอลติกจะดึงดูดความสนใจจากทั่วโลกเนื่องด้วยมีการจัดงานรับรางวัลโนเบล
แม้ว่ารางวัลนี้จะถูกมอบให้โดยราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน แต่ชาวสตอกโฮล์มส่วนใหญ่ก็ยังคงภาคภูมิใจ
ทว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นแบบนี้
ย้อนกลับไปเมื่อกระแสชาตินิยมแพร่กระจายไปทั่วยุโรป ชาวสวีเดนจำนวนมากต่างก็วิพากษ์วิจารณ์นักวิชาการชาวสวีเดนผู้ร่ำรวยคนหนึ่งที่ชื่อว่าโนเบล
พวกเขามักจะบอกว่านักวิชาการโนเบลนั้นไม่เคยสร้างอะไรที่เป็นมรดกให้กับประเทศเลย เขาไม่ได้สร้างประโยชน์อะไรให้แก่ชาวสแกนดิเนเวียในการชนะรางวัลเลย สิ่งที่โนเบลทิ้งเอาไว้ข้างหลังนั้นไม่ใช่ของขวัญ แต่มันคือปัญหามากมายต่างหาก
แม้แต่ฮันส์ ฟิสเชอร์
ผู้ซึ่งเคยเป็นประธานของราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนเองก็ยังเคยบ่นว่าโนเบลควรจะบริจาคเงินให้กับทางราชบัณฑิตสภาโดยตรงแทนการปล่อยให้พวกเขาจัดการกับขั้นตอนการให้รางวัลที่ยุ่งยากบ้าง แต่สุดท้าย นักวิชาการโนเบลก็ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการประชุมเกี่ยวกับกระบวนการของรางวัล
แต่ยังโชคดี เนื่องจากความพยายามอย่างไม่ลดละของแร็กนาร์ โซลแมน ผู้ช่วยที่น่าเคารพรักของโนเบล ท้ายที่สุดแล้ว กษัตริย์แห่งสวีเดนก็ประกาศเจตจำนงของโนเบลและยุติการโต้เถียงไปด้วยเงินสามสิบเอ็ดล้านโครเนอร์
กลับกลายเป็นว่าคนส่วนใหญ่นั้นหูเบา ก่อนที่โลกจะมีอินเทอร์เน็ต มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่มีโอกาสได้เห็นโลกภายนอก โลกที่ห่างไกลจากทะเลบอลติก
แต่เมื่อมองย้อนกลับไป เงินสามสิบเอ็ดล้านโครเนอร์ก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดในโลก
ทั้งนี้ ไม่เคยมีเมืองใดที่ได้รับเกียรติมากขนาดนี้ และไม่เคยมีชาวสวีเดนคนใด หรือแม้แต่กษัตริย์แห่งสวีเดน หรือแม้แต่นายกรัฐมนตรีคนใดทิ้งมรดกอันยิ่งใหญ่ไว้ให้กับประเทศนี้เลย
แน่นอน สิ่งนี้ก็มาพร้อมกับปัญหาเช่นกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ซึ่งต้องคอยดูแลและรักษาพินัยกรรมของโนเบลมานานกว่าศตวรรษ
ยิ่งใกล้เข้าสู่วันที่สี่ตุลาคมมากขึ้นเท่าไหร่ บรรยากาศในเมืองสตอกโฮล์มก็ยิ่งคึกคักและน่าตื่นเต้นมากขึ้นเท่านั้น
ตามเหตุผลแล้ว รายชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบลจะถูกจัดทำขึ้นวันที่หนึ่งตุลาคม
แต่คราวนี้ คณะกรรมการโนเบลสาขาเคมีไม่ได้มีความเห็นพ้องต้องกัน
เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว เนื่องจากความคิดเห็นที่แตกต่างกันของสมาชิกของคณะกรรมการรางวัลโนเบล การประกาศรางวัลโนเบลจึงล่าช้าไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม…
ภายใต้แรงกดดันจากราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน สมาชิกของคณะกรรมการโนเบลสาขาเคมีจึงได้จัดการประชุมอีกครั้ง
ในช่วงสองปีที่ผ่านมา รายชื่อคณะกรรมการไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย การเปลี่ยนแปลงเดียวก็คือท่านสนอเกอร์ ลินเซ่ได้ลาออกจากการเป็นประธานแล้ว
และในตอนนี้ ท่านเคลาส์ กุสตาฟส์สัน ผู้ซึ่งเคยเป็นสมาชิกคณะกรรมการมากว่าสิบห้าปีก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นประธานแทน
นักวิชาการอีกสามคนคือ ปีเตอร์ เบรเซซินสกี้ ผู้ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านชีวเคมีที่มหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม โอลาฟ แรมสตรอม ผู้ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านเคมีอินทรีย์ที่สถาบันเทคโนโลยีและศาสตราจารย์โยฮัน เอควิสต์ ผู้ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลและเคมีเชิงคำนวณ
ท่านลินเซ่พลันมองไปยังสมาชิกในห้องและพูดด้วยน้ำเสียงที่มุ่งมั่น
“เราเหลือกันแค่นี้แล้วนะ ทางราชบัณฑิตสภาเองก็ต้องการให้เราตัดสินใจโดยเร็วที่สุด! อย่างน้อยก่อนวันที่สี่!”
อันที่จริง พวกเขาได้ตัดสินใจไปตั้งแต่หนึ่งเดือนที่แล้ว
ท่านเคลาส์พลันพยักหน้า
“เช่นเดียวกับสิ่งที่ท่านลินเซ่พูด เราต้องรีบตัดสินใจแล้ว นี่จะเป็นการประชุมครั้งสุดท้าย ผมหวังว่าทุกคนจะให้ความร่วมมือ”
สมาชิกอีกสามคนมองหน้ากันและพยักหน้า
นี่จะเป็นครั้งสุดท้ายแล้วที่พวกเขาจะพูดถึงเรื่องนี้
การประชุมครั้งสุดท้ายของปี…
…
ถ้าให้พูดอย่างเป็นกลาง การตัดสินใจของคณะกรรมการโนเบลสาขาเคมีนั้นยังทำให้หลายคนสับสน ถึงกระนั้น กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบแช่แข็งในปี 2017 ก็ถือเป็นการคิดค้นที่ยอดเยี่ยม และเครื่องสร้างโมเลกุลในปี 2016 เองก็ดีไม่แพ้กัน แต่ทว่า แม้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะดีเด่น แต่มันก็ยังอยู่ห่างไกลจากการนำมาประยุกต์ใช้อยู่ดี
ทั้งนี้ สิ่งที่ทำให้ผู้คนทั้งโลกประหลาดใจคือแบตเตอรี่ลิเธียม ในทุกปี ผู้คนส่วนมากก็จะคาดเดากันว่า จอห์น บี กูดอีนาฟ ผู้ซึ่งเป็นบิดาแห่งแบตเตอรี่ลิเธียมจะเป็นผู้ชนะตลอด แต่ถึงกระนั้น มันก็ดูเหมือนกับว่าทางราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนจะลืมไปแล้วว่าเขามีตัวตนอยู่
นอกเหนือจาก “แบบจำลองเชิงทฤษฎีของโครงสร้างส่วนต่อประสานไฟฟ้าเคมี” ของลู่โจวแล้ว ศาสตราจารย์ฟรานซ์ – อุลริชฮาร์ทล์จากสถาบันมักซ์พลังค์และศาสตราจารย์อาเธอร์ ฮอร์วิชจากมหาวิทยาลัยเยล ผู้ซึ่งค้นพบการพับกันของโปรตีนภายในเซลล์ก็เป็นข้อพิจารณาสำหรับรางวัลโนเบลที่คุ้มค่าเช่นกัน
ก่อนหน้านี้ ทั้งสองก็เคยได้รับรางวัลลาสเกอร์อวอร์ดมาแล้ว ซึ่งมันเปรียบเสมือนเป็น “รางวัลโนเบลขนาดเล็ก” เลยแหละ และเกือบห้าสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ได้รับรางวัลลาสเกอร์อวอร์ด พวกเขาก็จะได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการค้นคว้าเรื่องการพัฒนาโปรตีนด้วยการสั่งการอีกด้วย
สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่านักเคมีนั้นมีแนวโน้มที่จะสร้างผลการวิจัยทางชีววิทยาให้เป็นแก่นหลักเสียมากกว่า
เมื่อมองแวบแรก ผลการวิจัยทางชีววิทยาดูเหมือนจะน่าสนใจทีเดียว
แต่แน่นอน หากเป้าหมายคือรางวัลโนเบล…
หลังจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเบื้องต้นแล้ว ที่ประชุมได้เริ่มตัดสินใจเกี่ยวกับการเสนอชื่อครั้งสุดท้าย
ตามที่คาดไว้ ส่วนมากต่างก็เน้นไปที่ “แบบจำลองเชิงทฤษฎีของโครงสร้างส่วนต่อประสานไฟฟ้าเคมี”
บรรยากาศการประชุมพลันจริงจังมากขึ้น…
“ไม่ว่าจะยังไง เราก็ต้องพิจารณาจากความสำเร็จของเคมีบริสุทธิ์ ถ้าคุณโนเบลรู้ว่าเราเปลี่ยนรางวัลโนเบลสาขาเคมีที่เขาชื่นชอบที่สุดให้เป็นรางวัลโนเบลสาขาชีววิทยา… ฉันมั่นใจเลยว่าเขาจะต้องโกรธมากแน่!” โอลอฟกล่าว
ปีเตอร์พลันตอบกลับ “แต่เขาอายุแค่ยี่สิบสี่ปีเองนะ! อายุน้อยกว่าลอเรนซ์ แบรกก์เสียอีก! รอให้เขาอายุสักยี่สิบห้าก่อนไม่ได้หรือยังไงกัน?”
“งั้นมีผลการวิจัยทางเคมีเชิงทฤษฎีที่ดีกว่านี้ไหมล่ะ?”
ปีเตอร์เงียบไปชั่วครู่และเริ่มคิด “การวิจัยเกี่ยวกับพลวัตของโมเลกุลงั้นรึ? ของโรแบร์โต้ คาร์จากสถาบันพรินซ์ตัน?”
โอลอฟส่ายหัว “ฉันเองก็ยอมรับว่าผลงานของเขาสุดยอดไปเลย แต่ยังไง มันก็ยังไม่โดดเด่นเท่าไหร่”
ปีเตอร์บ่น“ งั้นก็เลือกการคิดค้นโปรตีนภายในเซลล์ไปเลยสิ! ทำไมเราต้อง จำกัดทุกอย่างให้แคบลงไปที่เคมีเชิงทฤษฎีด้วย?”
ท่านลินเซ่พลันพยักหน้าและกล่าวคำพูด “ฉันเห็นด้วยกับมุมมองของปีเตอร์นะ”
ในปี 2015 ท่านลินเซ่เองก็มีความคิดที่จะมอบรางวัลโนเบลให้กับการคิดค้นการซ่อมแซมดีเอ็นเอ
และตอนนี้ความคิดเห็นนั้นก็ยังเหมือนเดิม ท่านลินเซ่พลันเชื่อว่าควรมอบรางวัลนี้ให้กับสาขาชีวเคมีไปเลย
ไม่นานนัก โออฟก็พลันกล่าว “ถ้าเราไม่ได้จำกัดสาขาของผลการวิจัย งั้นทำไมเราต้องจำกัดอายุด้วยล่ะ?”
ทันใดนั้น ศาสตราจารย์โยฮันก็พูดขึ้น “ผมคิดว่านักวิชาการโอลอฟพูดถูก แบบจำลองเชิงทฤษฎีของโครงสร้างส่วนต่อประสานไฟฟ้าเคมีไม่เพียงแต่เป็นความสำเร็จในวิชาเคมีไฟฟ้าและเคมีเชิงทฤษฎีเท่านั้น แต่มันยังเป็นส่วนสำคัญในการบุกเบิกสาขาเคมีเชิงคำนวณอีกด้วย”
เขาเป็นนักวิจัยด้านเคมีคำนวณ ไม่มีใครจะเข้าใจแบบจำลองได้ดีไปกว่าเขาอีกแล้ว
ถึงอย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ที่สุดในกระบวนการคัดเลือกรางวัลโนเบล
เมื่อวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขอบเขตระหว่างสาขาวิชาก็พลันผสมกันมากขึ้นไปเรื่อย และทิศทางของการวิจัยก็เริ่มห่างกันมากขึ้น ทั้งนี้ มันเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับนักวิชาการที่จะเข้าใจงานวิจัยที่นอกเหนือจากสาขาของตน แต่ทว่า สิ่งที่ยากที่สุดคือต้องมาเปรียบเทียบว่าจะเลือกผลการวิจัยไหนดี…
ดูเหมือนว่า “สงคราม” จะเริ่มขึ้นบนโต๊ะประชุม
ท่านประธานเคลาส์ซึ่งไม่ได้พูดอะไรมากมองไปยังโอลอฟและปีเตอร์ เขาครุ่นคิดครู่หนึ่งก่อนจะปรบมือขัดจังหวะการโต้เถียงบนโต๊ะประชุม
“อ่า อย่างทะเลาะกันเลยท่าสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทั้งหลาย ผมว่าเรามาใช้วิธีที่เป็นประชาธิปไตยและยุติธรรมที่สุดในการจัดการเรื่องนี้กันดีกว่า”
ทุกคนมองหน้ากัน
แม้ว่าจะไม่มีข้อตกลง แต่ก็ไม่มีใครคัดค้านข้อเสนอแนะของท่านประธาน
เมื่อความคิดเห็นแตกต่างกัน ไม่มีวิธีใดจะดีไปกว่าการลงคะแนนเสียงอีกแล้ว
หลังจากที่ท่านประธานเคลาส์เห็นว่าสมาชิกในคณะกรรมการไม่คัดค้าน เขาก็โบกมือเรียกผู้ช่วย
เขาบอกกับผู้ช่วยว่าต้องการอะไร ไม่นานนัก ผู้ช่วยก็ก้าวไปข้างหน้าและวางกระดาษหนึ่งแผ่นต่อหน้าทุกคน
ท่านลินเซ่เองก็พลันหยิบปากกาขึ้นมาและเขียนคำลงบนกระดาษ จากนั้น ก็มองไปยังท่านประธานเคลาส์ด้วยสีหน้าประหลาดใจ “คุณรู้อยู่แล้วใช่ไหมว่าจะเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น?”
“ลางสังหรณ์น่ะครับ” ท่านประธานเคลาส์และเผยยิ้มพร้อมกับพับกระดาษ เขาวางกระดาษไว้ตรงกลางโต๊ะประชุมและพูดขึ้น “ไม่ค่อยได้ทำอะไรแบบนี้กันเลยใช่ไหมล่ะ?”
………………………………………