ตลอดทั้งปี เหล่านักวิจัยในสาขานิวเคลียร์ฟิวชั่นแบบควบคุมแทบจะไม่ได้หยุดพัก
ในอดีต เรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ ก็ควรค่าแก่การแถลงข่าว แต่ข่าวใหญ่ที่ตามมาในปีนี้คือเรื่องขององค์กร ITER
ตั้งแต่เรื่องแบบจำลองการไหลทะลักของพลาสมาไปจนถึงอุปกรณ์สตาร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำทำการกักเก็บพลาสมาให้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่งชั่วโมง จากนั้นก็เรื่องที่ตัวแทนสหรัฐตั้งคำถามเพื่อที่จะดึงจีนจึงออกจากองค์กร ITER
ตลอดทั้งปี อารมณ์ของเหล่านักวิจัยในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ฟิวชั่นทุกคนนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการนั่งรถไฟเหาะอยู่ตลอดเวลา
ในตอนนี้ ข่าวที่จีนถอนตัวออกจากองค์กร ITER ยังคงร้อนแรงอยู่ ข่าวเพิ่งจะถูกเผยแพร่ไปโดยสำนักข่าวชื่อดังก็ได้ไปกระตุ้นให้ชุมชนฟิสิกส์พลาสมาระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ฟิวชั่นแบบควบคุมต้องเกิดความตกใจและตกตะลึงไม่น้อย
ในวันแรกของเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นวันกำเนิดสาธารณรัฐ จู่ๆ ทางจีนก็พลันประกาศว่าโครงการเครื่องปฏิกรณ์สตาร์เชิงสาธิตรุ่นที่สองจะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปและขั้นสุดท้าย
นั่นคือการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์เชิงสาธิตขึ้น โดยเริ่มต้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เมืองเทียนหว่าน
ทันทีที่ข่าวนี้เผยแพร่ออกไป ไม่เพียงแต่ชุมชนฟิสิกส์พลาสมาระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ฟิวชั่นเท่านั้นที่ตกใจ แต่รวมถึงประชาชนทั่วโลกอีกด้วย
โครงสร้างข้อมูลเชิงสาธิต!
ไม่มีใครคิดว่าทุกอย่างนี้จะเกิดขึ้นมาอย่างกะทันหัน
ทั้งนี้ สำนักข่าวบีบีซีก็เป็นที่แรกที่ทำการเผยแพร่และรายงานข่าวดังกล่าว
ในการให้สัมภาษณ์กับนักข่าว เบน เดบาวเออร์ ประธานบริษัทอัลฟ่าของสหรัฐฯได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้
“หากจีนกลายเป็นประเทศแรกที่ตระหนักถึงการนำเทคโนโลยีฟิวชั่นไปสู่ธุรกิจการค้า ความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์และการเมืองของพวกเขาก็จะชัดเจนมากขึ้น อีกทั้ง การขยายตัวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความรวดเร็วเช่นกัน”
“นี่ไม่ใช่ข่าวปลุกปั่นเพื่อให้ผู้คนตื่นตระหนกแน่นอน เทคโนโลยีใหม่นี้แตกต่างจากสิ่งประดิษฐ์ทั้งหมดที่เราเคยมีมาในอดีต ถ้าอย่างเข้าใจง่ายๆ มันก็เป็นเหมือนจอกศักดิ์สิทธิ์ของสนามพลังงานซึ่งสามารถส่องสว่างไปในอนาคตที่เราไม่สามารถมองเห็นได้”
“แน่นอน แม้ว่าสถานการณ์จะดูรุนแรงมาก แต่การแข่งขันก็เพิ่งเริ่มต้นขึ้น และเรามีความมั่นใจมากว่าสามารถเอาชนะพวกเขาได้อย่างแน่นอน”
นอกจากเดบาวเออร์แล้ว นักข่าวบีบีซีก็ได้ติดต่อไปยังคณบดีของสถาบันคริสเตียนแห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด อดีตผู้อำนวยการคาเล็มฟิวชั่นเซนเตอร์แห่งสหราชอาณาจักรและอดีตซีอีโอของหน่วยงานอังกฤษ สตีเวน ฟิลิปป์อีกด้วย
ในการให้สัมภาษณ์ศาสตราจารย์สตีเวนก็ลงความเห็นเกี่ยวกับการถอยร่นของประเทศจีนไว้อย่างมากมาย
“แม้ว่าองค์กร ITER จะหารือกันเรื่องเตะประเทศจีนจากทีมโครงการระหว่างประเทศ แต่ก็ไม่มีใครอยากเห็นพวกเขาถอนตัวออกไปด้วยวิธีการนี้หรอก”
ผู้สื่อข่าวพลันถามกลับ “แล้วทั้งสองต่างกันอย่างไรคะ?”
สตีเวนหันหน้าไปทางกล้องของสำนักข่าวและพูดขึ้น “มันแตกต่างกันอย่างแน่นอน”
“ในตอนแรก จำนวนพนักงานชาวจีนในองค์กร ITER นั้นต่ำมาก แต่ตอนนี้ พวกเขาเป็นรองให้กับแค่สหภาพยุโรป ไม่เพียงแค่นั้น พวกเขายังเป็นสมาชิกอันดับสามสามารถปฏิบัติตามสัญญาทางการเงินได้ตลอดอีกด้วย…”
“ในตอนนี้ การส่งมอบงานยังไม่เสร็จสิ้น เหล่าพนักงานชาวจีนทั้งหมดถูกบังคับให้อพยพออกไป และมีเพียงหนึ่งในห้าเท่านั้นเลือกที่จะอยู่ต่อ ไม่เพียงแค่นั้นโครงการสำคัญหลายโครงการของพวกเขาก็ตกอยู่ในภาวะถดถอยอีกด้วย”
“พวกเขาจึงเลือกที่จะถอนตัวออกไปด้วยวิธีนี้อย่างไม่ต้องสงสัย นี่ถือเป็นการแสดงความไว้อาลัยให้กับสหรัฐที่เอาแต่กดดันพวกเขาในเรื่องปัญหาของอุปกรณ์สตาร์ เหตุผลที่กระตุ้นให้พวกเขาทำเช่นนั้นส่วนใหญ่ก็มาจากผลกระทบของอุปกรณ์สตาร์ทั้งนั้น”
“ทุกคนมีโครงการนิวเคลียร์ฟิวชั่นแบบควบคุมและทุนสำรองทางเทคนิคเป็นของตัวเอง นอกจากนี้ สำหรับข้อตกลงขององค์กร ITER พวกเขาไม่เคยขอให้ประเทศอื่นเปิดเผยการวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้องเลยด้วยซ้ำ”
“สิ่งที่ผมต้องพูดก็คือ ในเวลานี้ การบังคับให้ประเทศจีนออกจากโครงการ ITER ถือเป็นทางเลือกที่โง่เขลาที่สุด มันถือเป็นทางเลือกที่แย่มาก เพราะอีกฝ่ายจะกลับมาผงาดอีกครั้งพร้อมกับเทคโนโลยีแห่งอนาคต”
“ประเทศจีนไม่ได้มีส่วนร่วมกับองค์กร ITER อีกต่อไปแล้ว ทั้งนี้ เราก็หวังได้เพียงว่าสหรัฐฯจะให้เกียรติต่อพันธสัญญาของตนเอง นอกจากนี้ ทางฝั่งเกาหลีใต้ก็จะต้องแบกรับแรงกดดันให้ได้มากกว่านี้ สำหรับเรื่องเงินทุน จากมุมมองของผม มันถือเป็นเรื่องที่จัดการยากมาก”
“สำหรับอนาคตขององค์กร ITER แล้ว คุณดูจะมองโลกในแง่ดีหน่อยเหรอคะ?” ผู้สื่อข่าวถามขึ้น
ศาสตราจารย์สตีเวนรีบตอบกลับ “ผมไม่เคยมองมันในแง่ดีเลยต่างหาก พวกเขาตัดสินใจผิดพลาดมาตั้งนานแล้ว แล้วถ้าทุกอย่างเป็นแบบนี้ พวกเขาจะสร้างเครื่องปฏิกรณ์เชิงสาธิตได้อีกที่ไหนกัน? แล้วก็ที่ศูนย์วิจัยคาดาราเช่ที่อยู่ใกล้กับเมืองมาร์แซย์ ผมได้ยินมาว่าพวกเขาวางแผนที่จะสร้างเครื่องปฏิกรณ์เชิงสาธิตในฝรั่งเศส แล้วผมก็รู้ด้วยว่าสุดท้ายแล้ว ทุกอย่างจะต้องเป็นปัญหาอย่างแน่นอน ถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเขาเองก็จะทำอะไรไม่ได้แน่”
ผู้สื่อข่าวพลันกระแอม “แล้วคุณคิดว่าที่ไหนเหมาะสมที่สุดคะ?”
“แน่นอน ต้องที่นี่สิ สหราชอาณาจักร!”
ผู้สื่อข่าวพลันขมวดคิ้วทันใด
…
วอชิงตัน ถนนเพนซิลเวเนีย
ประธานาธิบดีได้กระแทกหนังสือพิมพ์ลงบนโต๊ะทำงานและกล่าวคำสบถออกมา
“นี่มันเกิดอะไรขึ้นกัน!? ถ้าไม่มีใครมาเตือนหรือมาบอก ฉันเองก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเกิดอะไรขึ้น!”
หนังสือพิมพ์ที่ถูกทิ้งบนโต๊ะคือรายงานข่าวต่างประเทศฉบับล่าสุด
หัวข้อข่าวคือการพัฒนาโครงการเครื่องปฏิกรณ์สตาร์เชิงสาธิตรุ่นที่สองครั้งล่าสุด
เรื่องที่น่าขันก็คือ ประธานาธิบดีเพิ่งจะได้รับรู้ข่าวนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งไม่ใช่จากเครือข่ายข่าวกรองของตนเอง แต่รับรู้มาจากหนังสือพิมพ์ของฝ่ายตรงข้าม
หัวข้อข่าวสีแดงสดมันทำให้สะดุดเข้าตาเป็นพิเศษ
จากเส้นแบ่งระหว่างคำ เขารู้สึกได้ถึงการยั่วยุจากฝ่ายตรงข้าม
จีน่า แฮสเปอร์ ผู้อำนวยการซีไอเอและเฮล์ม ผู้บัญชาการหน่วยสืบราชการลับกำลังยืนอยู่ตรงหน้าเขา
จีน่าที่กำลังกอดอกอยู่พลันกระแอมขึ้นมา “บางที เรื่องนี้คุณเฮล์มอาจจะอธิบายได้นะคะ”
ทันทีที่ได้ยินเช่นนั้น เฮล์มก็พลันเผยท่าทีที่เปลี่ยนไป
จีน่า แฮสเปอร์
หากจะมีใครในซีไอเอที่ต้องการจะยั่วยุเขา อย่างน้อยก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบุคคลนั้นคือหญิงชราในยุคหกศูนย์ที่ยืนอยู่ข้างกาย
นอกเหนือจาก เธอยังได้รับฉายา “จีน่าหน้าเลือด” มาจากเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการทารุณกรรมนักโทษอีกด้วย เขารู้ดีว่าเธอเป็นผู้หญิงที่โหดแค่ไหน
ทั้งนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็เกือบจะเต็มไปด้วยความโกลาหลทันทีที่ข่าวนี้แพร่กระจายออกไปในวงกว้าง…
จากนั้นไม่นาน เฮล์มก็หายใจเข้าเฮือกใหญ่และพูดขึ้น
“มันเป็นความผิดของพวกเราเอง เราประเมินความมุ่งมั่นทางฝั่งจีนในเรื่องการศึกษาการนิวเคลียร์ฟิวชั่นต่ำเกินไป บางที พวกเขาอาจไปไกลกว่าที่เราคิด”
ประธานาธิบดีพลันหายใจเข้าเฮือกใหญ่เช่นกัน
“ถ้าเสาเข็มเสาแรกของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ถูกสร้างขึ้น ฉันอยากรู้ว่าพวกเขาไปไกลแค่ไหนแล้ว”
“ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกัน” เฮล์มเผยสีหน้าสุดขมขื่น “แต่ด้วยความเร็วของพวกเขา หากท่านได้เทคโนโลยีนี้ไปครอง อันที่จริง มันก็จะใช้เวลาไม่นานในการเปลี่ยนจากเทคโนโลยีเชิงสาธิตไปเป็นเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์…”
ทั้งห้องทำงานต่างเงียบสนิท
ทุกคนต่างไม่ได้พูดอะไรออกมา ทันใดนั้นเอง เฮล์มก็กระแอมและกล่าวคำพูดขึ้นมาอีกครั้ง
“ผมคิดว่าเราต้องเพ่งความสนใจไปที่คนๆ เดียว”
“คนเดียว?” แฮสเปอร์สงสัย
“ใช่” เฮล์มกล่าว “ฉันได้ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องก่อนที่เขาจะกลับมายังประเทศจีนเสียอีก แม้ว่าทางจีนจะประสบความสำเร็จในการศึกษาเครื่องโทคาแมกอยู่บ้าง แต่พวกเขาก็ยังห่างไกลจากเราอยู่ เว้นแต่จะพูดถึงการศึกษาเรื่องดวงดาวจำลอง…”
“ยังไงก็เถอะ ตั้งแต่เขากลับมาที่ประเทศจีน สถานการณ์หลายอย่างก็เปลี่ยนไปในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งปี…”
……………………………………………